หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์

Master of Art Program in Social Development and Engagement (M.A.)

-

เกี่ยวกับหลักสูตร

สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์

ปรัชญา

      ผลิตมหาบัณฑิตให้เป็นผู้นำด้านการบริหารงานพัฒนาสังคมที่มีความรู้ทักษะ และศักยภาพในการวิจัย การนำองค์ความรู้การพัฒนาสังคมแบบองค์รวมของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมาสร้างนวัตกรรม เชื่อมโยงพันธกิจสัมพันธ์กับสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ความสำคัญ

      การพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนให้พร้อมในการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (Asian Economic Community : AEC) มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการผลิตและการ ตลาดแรงงานที่มีคุณภาพและมาตรฐาน มีทักษะและศักยภาพทั้งทางวิชาการและมีสมรรถนะสูงเพื่อ การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเกิดเสรีทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ตามกรอบข้อตกลง MRAs ของประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียน นอกจากการพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้พร้อมรองรับการแข่งขันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนแล้ว หลักสูตรฯ ยังต้องการผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สามารถยินหยัดใน เวทีการพัฒนาโลก มีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งด้านการลงทุนเพื่อให้ประเทศเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาที่ยั่งยืน เสริมสร้างของภาคีการพัฒนาภายในประเทศ ตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่น โดย เสริมสร้างศักยภาพชุมชนท้องถิ่นให้รับรู้และเตรียมพร้อมรับกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและ ภายนอกส่งเสริมศักยภาพด้านวิชาการและเครือข่ายของสถาบันการศึกษาไทยเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับ กลุ่มประเทศในภูมิภาคและระดับนานาชาติ รวมทั้งการปรับปรุงการบริหารจัดการประเทศภายใต้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสร้างภูมิคุ้มกันรองรับการเปลี่ยนแปลงใน สถานการณ์และความเสี่ยงซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในโลกไร้พรมแดน
      หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์มุ่งเน้นการ พัฒนาผู้นำและนักบริหารการพัฒนาสังคม การพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบความร่วมมือด้านประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) ที่กำหนดให้ประเทศ สมาชิกร่วมกันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างระบบการคุ้มครองทางสังคม ส่งเสริมความยุติธรรม รักษา สิทธิของประชาชน รวมถึงแรงงานของประเทศสมาชิก ในประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียนในการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานและทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคอย่าง เท่าเทียมกัน โดยส่งเสริมการผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพที่เหมาะสม ตามความต้องการของศตวรรษที่ 21 เสริมสร้างทักษะในการประกอบการ การพัฒนาศักยภาพความคิดเชิงระบบ ที่จะนำไปสู่การสร้าง ระบบสวัสดิการทางสังคมและความมั่นคงทางสังคม รวมถึงการคุ้มครองทรัพยากรมนุษย์ตามกรอบคิด การพัฒนาที่ยั่งยืน
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-พ.ศ.2564) ได้ให้ ความสำคัญกับการพัฒนาคนและคุณภาพการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งสนับสนุนจัด การศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งวิชาชีพและวิชาการ เน้นการจัดการเรียนการสอนตามหลักการ เรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะในการประกอบอาชีพอย่างมีคุณภาพทั้งด้าน ทักษะภาษาและความรอบรู้ในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพและขีด ความสามารถการแข่งขันในกลุ่มประเทศประชาคมอาเซียนในปัจจุบัน สำหรับการมุ่งประโยชน์ ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของประเทศประชาคมอาเซียน ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาคนไทยให้ มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง มุ่งพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย สอดแทรกการพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ที่เสริมสร้างวัฒนธรรมการเกื้อกูล พัฒนาทักษะให้คนมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต สามารถต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนานวัตกรรมการคิดสร้างสรรค์ ปลูกฝังสร้าง ระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและจริยธรรม สร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม เคารพ กฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน สร้างค่านิยมการผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาคน ด้วยการเรียนรู้ในศาสตร์วิทยาการให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีคุณภาพและหลากหลาย เปิด กว้างที่จะเรียนรู้ขนบธรรมเนียมทางสังคม วัฒนธรรม เชื้อชาติ ภาษา และศาสนาของเพื่อนประเทศ สมาชิกประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น พร้อมยอมรับและปรับตัวเข้าหากัน เพื่อให้สามารถรับประโยชน์ จากโอกาสและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น อันจะนำพาสังคมและประเทศชาติไปสู่การพัฒนาอย่าง มั่นคงและยั่งยืนต่อไป
      จากข้อมูลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-พ.ศ.2564) สะท้อนว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์หลายประการ ทั้งโครงสร้าง จำนวนประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น วัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ปัญหาคุณภาพการศึกษาและระดับ สติปัญญาต่ำ พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและผลิตภาพของแรงงานต่ำ ประชาชนบางส่วนได้รับการ คุ้มครองและได้รับสวัสดิการทางสังคม บางส่วนยังเป็นผู้ด้อยโอกาสไม่สามารถเข้าถึงบริการสวัสดิการ ทางสังคม ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประชากรและโอกาสเข้าถึงทรัพยากรเป็นปัญหาการ พัฒนาประเทศ ประเทศไทยเผชิญวิกฤตความเสื่อมถอยด้านคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงปัญหา ยาเสพติดและการเพิ่มขึ้นของการติดการพนันในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในการแข่งขันทั้งในเวทีประชาคมอาเซียนและเวทีโลก ด้วยเหตุนี้ การ พัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์จึงเป็นประเด็น สำคัญและตอบสนองการแก้ไขสถานการณ์ทางสังคมดังเช่นปัจจุบัน
      การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ อันเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ทั้งที่เกิดจากการเข้าสู่ประชาคม อาเซียนและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทำให้มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาหลักสูตรในเชิงรุก เพื่อให้ผลิตมหาบัณฑิตที่มีศักยภาพทางวิชาชีพและวิชาการ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้นำการพัฒนาสังคมที่มีความรู้ มีทักษะและสมรรถนะในการวิเคราะห์ วิจัย รวมทั้งใช้องค์ความรู้และนำนวัตกรรมมา พัฒนาสังคมได้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 (Thai Qualifications Framework for Higher Education ; TQF : HEd) มุ่งพัฒนาบัณฑิตที่มีศักยภาพ การปฏิบัติงานด้านพัฒนาสังคม โดยจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานการพัฒนาการเรียนรู้ 5 ด้าน ประกอบด้วยด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ตลอดจนด้านทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
      มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจท้องถิ่น มีปรัชญามหาวิทยาลัยเพื่อการศึกษาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นภายใต้วิสัยทัศน์ สถาบันอุดมศึกษาร่วมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง โดยเน้นให้มีอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ในการสร้างคนดี คนเก่ง และมีจิตอาสา พัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการ มีความเป็นเอกลักษณ์ คือ มหาวิทยาลัยของชุมชนท้องถิ่น และมียุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2560-2579 “ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านพันธกิจสัมพันธ์กับการพัฒนาท้องถิ่น” คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องนำนโยบายของมหาวิทยาลัยสู่การปฏิบัติให้เกิดรูปธรรม จึงได้กำหนดเอกลักษณ์ของคณะคือ มีการบูรณาการนำองค์ความรู้ทุกหลักสูตรสาขาวิชามาปฏิบัติ ตามพันธกิจอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อพัฒนาระบบและกลไก การบูรณาการพันธกิจการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม บริการวิชาการสู่งานพันธกิจ สัมพันธ์ และยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ มุ่งเป้าที่จะ พัฒนาระบบกลไก การบริหารจัดการงานบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วม พัฒนาศักยภาพอาจารย์และนักศึกษาด้านบูรณา การพันธกิจ พัฒนาระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้ เพื่องานพันธกิจสัมพันธ์ ตลอดจน พัฒนาระบบกลไก การบริหารจัดการงานพันธกิจสัมพันธ์ จึงได้มีการกำหนดนโยบายให้อาจารย์ทุกหลักสูตรพัฒนาการ ทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ โดยการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์เพื่อตอบสนองนโยบายของภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคชุมชนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
      ผลการสำรวจความต้องการเรียนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนา สังคมและพันธกิจสัมพันธ์จากกลุ่มตัวอย่างในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 150 คน (โดยสุ่ม แบบเจาะจง) ผลการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่มีงานทำแล้ว คิดเป็นร้อยละ 73.62 ทำงานในองค์การ ภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 43.54 และกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 23.38 มีความ สนใจศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา คิดเป็นร้อยละ 74.11 สำหรับเหตุผลในการศึกษาระดับปริญญา โท สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์พบว่า โดยส่วนใหญ่ต้องการเพิ่มวุฒิการศึกษา คิดเป็น ร้อยละ 64.95 และต้องการเพิ่มความรู้และประสบการณ์การทำงาน คิดเป็นร้อยละ 53.45 ซึ่งกลุ่ม ตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีความประสงค์เรียนในวันเสาร์และอาทิตย์ คิดเป็นร้อยละ 98.93 ใช้เงินทุน สนับสนุนเป็นทุนส่วนตัวคิดเป็นร้อยละ 55.89 นอกจากนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์พบว่า หลักสูตรตรงกับความต้องการและก้าวหน้าในอาชีพิดเป็นร้อยละ 44.95 รองลงมาคือ หลักสูตรเป็นที่ต้องการขององค์กรและหน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 30.26 และหลักสูตรจัดการเรียนในวันเสาร์-อาทิตย์ คิดเป็นร้อยละ 14.79 ส่วนข้อเสนอแนะโดยสรุป ได้แก่ ควรจัดอาจารย์ที่ปรึกษาให้ผู้เรียนเป็นรายบุคคลตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษา เพื่อให้คำปรึกษาด้านการ สืบค้นข้อมูลทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การวิจัย และการทำวิทยานิพนธ์
      จากข้อมูลผลการสำรวจข้างต้น คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งสร้างนักพัฒนาสังคมที่มีความเป็นผู้นำการพัฒนา มีจริยธรรม มีความรู้และทักษะ ในการวิเคราะห์ วิจัย ใช้องค์ความรู้และนำนวัตกรรมมาวางแผนและบริหารจัดการพัฒนาสังคมได้ อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและสิ่งแวดล้อมใน ประเทศและประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้เกิดสังคมที่มีสันติสุข

วัตถุประสงค์

          เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะและความรู้ความสามารถดังนี้
     1. มีความรู้และความสามารถในการวิเคราะห์พันธกิจสัมพันธ์กับสังคมสู่การพัฒนาท้องถิ่น
     2. มีความรู้ สามารถกำหนดนโยบายการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสังคม
     3. มีทักษะในการวิเคราะห์ วิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาสังคม
     4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการพัฒนาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     5. มีภาวะผู้นำ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาจัดการความรู้สู่การพัฒนาสังคม
     6. มีคุณธรรม จริยธรรม เข้าใจวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ข้อมูลหลักสูตร

สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)

ชื่อสถาบันการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์ Master of Art Program in Social Development and Engagement (M.A.)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา :

ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์)

ชื่อย่อ  : ศศ.ม. (พัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร : หลักสูตรปริญญาโท 2 ปี

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา :

– นักพัฒนาสังคม นักพัฒนาชุมชน และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรภาครัฐและ
ภาคเอกชน

– เจ้าหน้าที่นักวิชาการในองค์กรภาครัฐ (กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กรมการพัฒนาชุมชนและกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ)

– อาจารย์และนักวิชาการในสถาบันการศึกษา

– นักบริหารในองค์กรต่าง ๆ นักวิจัย นักวิชาการ (ด้านการวิเคราะห์และค้นหาองค์ความรู้ทางการพัฒนา)

แผนการเรียน

สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

(ก) แบบ แผน ก แบบ ก 2 เรียนไม่น้อยกว่า

    1. หมวดวิชาบังคับ

    2. หมวดวิชาเลือก

    3. วิทยานิพนธ์

(ข) แบบ แผน ข เรียนไม่น้อยกว่า

    1. หมวดวิชาบังคับ

    2. หมวดวิชาเลือก

    3. การค้นคว้าอิสระ

 

 

36 หน่วยกิต

15 หน่วยกิต

9 หน่วยกิต

12 หน่วยกิต

36 หน่วยกิต

15 หน่วยกิต

15 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

อาจารย์ประจำหลักสูตร

สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์

ประธานหลักสูตร

รศ.ดร.อนันต์ แย้มเยื้อน

ประธานหลักสูตร
หัวหน้าหน่วยจัดการงานวิจัย

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ผศ.ดร.ยุพิน เถื่อนศรี

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อ.ดร.นิชภา โมราถบ

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อ.ดร.สุดารัตน์ รอดบุญส่ง

อาจารย์ประจำหลักสูตร
รองคณบดีฝ่ายงานกิจการนักศึกษา

ผศ.ดร.ภีรวัฒน์ นนทะโชติ

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ผลงานวิชาการ

สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์

ศิษย์เก่าดีเด่น

สาขาวิชาพัฒนาสังคมและพันธกิจสัมพันธ์

No posts found!