หลักสูตรศิลปบัณฑิต

สาขาวิชาทัศนศิลป์

Bachelor of Fine Arts Program in Visual Arts

ผลิตบัณฑิตให้มีความคิดสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ สืบสานวัฒนธรรม และส่งเสริม ภูมิปัญญาสู่สากล

เกี่ยวกับหลักสูตร

สาขาวิชาทัศนศิลป์

ปรัชญา

          ผลิตบัณฑิตให้มีความคิดสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ สืบสานวัฒนธรรม และส่งเสริม ภูมิปัญญาสู่สากล

ความสำคัญ

          หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) เป็นหลักสูตร ปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดจากหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องผู้เรียนและผู้ใช้บัณฑิตรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเน้นให้มีการบูรณาการ กับการทำงาน (Work Integrated Education) ทั้งนี้เพื่อให้บัณฑิตมีความพร้อมสำหรับการเป็น พลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 มีทักษะทางวิชาการและทักษะวิชาชีพควบคู่คุณธรรมและจริยธรรม โดย อาศัยกลไกการจัดการเรียนการสอนด้านสหกิจศึกษา (Co-operative Education) และเป็นไปตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.1 ศิลปกรรมศาสตร์)

วัตถุประสงค์

          เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะและความรู้ความสามารถดังนี้
      1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทฤษฎี หลักการทางด้านทัศนศิลป์สามารถ วิเคราะห์ ประยุกต์ และบูรณาการองค์ความรู้ด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และเซรามิกส์ได้
      2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ ความชำนาญในการแสดงออกซึ่งผลงานทางทัศนศิลป์จากศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำเสนอผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย
      3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถด้านทัศนศิลป์สามารถนำเสนอผลงานต่อสาธารณชนพัฒนาทักษะทางศิลปะได้อย่างหลากหลาย สามารถเป็นศิลปินและนักสร้างสรรค์มีคุณธรรมจริยธรรมและจิตสำนึกสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนสังคมสู่สากลได้

ข้อมูลหลักสูตร

สาขาวิชาทัศนศิลป์

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

ชื่อสถาบันการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ (Bachelor of Fine Arts Program in Visual Arts)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา :

ภาษาไทย

     ชื่อเต็ม : ศิลปบัณฑิต (ทัศนศิลป์)

     ชื่อย่อ  : ศล.บ. (ทัศนศิลป์)

ภาษาอังกฤษ

     ชื่อเต็ม : Bachelor of Fine Arts (Visual Arts)

     ชื่อย่อ  : B.F.A. (Visual Arts)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : 130 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร : หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา :

– จิตรกร ประติมากร ช่างศิลป์ นักออกแบบหรือนักสร้างสรรค์
– ครูและอาจารย์สอนศิลปะในสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชน
– ฝ่ายโสตทัศนศิลป์ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
– นักวิชาการด้านทัศนศิลป์ หน่วยงานของรัฐ
– นักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัยโครงการทางด้านทัศนศิลป์
– ประกอบธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอิสระ

แผนการเรียน

สาขาวิชาทัศนศิลป์

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป

บังคับเรียน

    (1) กลุ่มวิชาภาษา บังคับเรียน

    (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ กลุ่มสังคมศาสตร์ และกลุ่มวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ บังคับเรียน

เลือกเรียน ไม่น้อยกว่า

    (1) กลุ่มภาษา เลือกเรียนไม่น้อยกว่า

    (2) กลุ่มมนุษยศาสตร์ หรือ กลุ่มสังคมสังคมศาสตร์ หรือกลุ่มวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า

ข. หมวดวิชาเฉพาะ เรียนไม่น้อยกว่า

    (1) วิชาแกน

          (1.1) ความรู้ทางสุนทรียศาสตร์

          (1.2) ความรู้ทางประวัติทัศนศิลป์

    (2) วิชาเฉพาะด้านบังคับ บังคับเรียน

          (2.1) เนื้อหาเชิงทฤษฎีทางทัศนศิลป์ และทักษะปฏิบัติ

          (2.2) วิชาเอก

          (2.3) ศิลปนิพนธ์

    (3) วิชาเฉพาะด้านเลือก เลือกเรียนไม่น้อยกว่า

    (4) วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ บังคับเรียน

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี เรียนไม่น้อยกว่า

 

30 หน่วยกิต

24 หน่วยกิต

9 หน่วยกิต

15 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

3 หน่วยกิต

3 หน่วยกิต

94 หน่วยกิต

15 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

9 หน่วยกิต

57 หน่วยกิต

39 หน่วยกิต

12 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

15 หน่วยกิต

7 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

อาจารย์ประจำหลักสูตร

สาขาวิชาทัศนศิลป์

ประธานหลักสูตร

อ.ประดิพัทธ์ วิรามร

ประธานหลักสูตร

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ผศ.ดร.ไสยเพ็ญ เฉิดเจิม

คณบดี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

อ.จาตุรันต์ จริยารัตนกูล

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อ.ญัฐวุฒิ ขันโพธิ์น้อย

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ผลงานวิชาการ

สาขาวิชาทัศนศิลป์

ประกาศ/คำสั่ง

สาขาวิชาทัศนศิลป์

ประกาศคำสั่งหลักสูตรสาขาวิชาทัศนศิลป์
ศิษย์เก่าดีเด่น

สาขาวิชาทัศนศิลป์

No posts found!

ข่าวสารของหลักสูตร

News